วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัด 2

1. โฟลเดอร์ (Folder)  หมายถึงอะไร?         (.   ถูก)
ก. กลุ่มของข้อมูลหนึ่ง ๆ ที่จัดเก็บไว้ในโปรแกรมจะต้องมีชื่อไม่ซ้ำกัน
ข.
      ที่จัดเก็บไฟล์หรือแฟ้มเพื่อให้เป็นระเบียบและสะดวกในการค้นหา
ค.
ระบบในการตั้งชื่อ
ง.
โปรแกรมระบบปฏิบัติการ
2. โปรแกรม Microsoft Word จัดเป็นโปรแกรมประเภทใด?      (. ถูก)
ก. พิมพ์เอกสาร
ข.
คำนวณ
ค.
วาดรูปภาพ
ง.
จัดรูปแบบเอกสาร

3. ชนิดของแฟ้มข้อมูลที่จัดเก็บใน Microsoft Word  จะมีนามสกุลเป็นอะไร?     (. ถูก)
ก. .BMP
ข.
TXT
ค.
.XLS
ง.
.DOC



4. ประโยชน์สูงสุดของการจัดทำระบบเครือข่าย คืออะไร?     (. ถูก)
ก. คอมพิวเตอร์ได้รู้จักกัน
ข.
เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกัน
ค.
เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย
ง.
เพื่อให้เกิดเครื่องแม่และเครื่องลูก

5. ข้อใดให้ความหมายของอินเทอร์เน็ตได้ถูกต้องชัดเจนที่สุด?    (. ถูก)
ก. กลุ่มของคอมพิวเตอร์
ข.
การส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องหนึ่ง
ค.
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ง.
แหล่งข้อมูลขนาดใหญ่
6. ข้อใดคือบริการในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต?     (.ถูก)
ก. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail)
ข. 
การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล  (FTP)
ค.
การสนทนาบนเครือข่าย (Chat)
ง.
ถูกทุกข้อ
7. บริการอินเทอร์เน็ตที่มีผู้ใช้นิยมมากที่สุดคืออะไร?     (. ถูก)
ก. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail)
ข.
การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล  (FTP)
ค.
การสนทนาบนเครือข่าย (Chat)
ง.
บริการเทลเน็ต (Telnet)
8. .  ชื่อโดเมนเนมของเว็บไซต์โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา มีชื่อว่าอย่างไร?     (. ถูก)
ก. nukul.ac.th
ข.
school.net.th
ค.
sanook.com
ง.
yahoo.com

9. หน้าแรกของเว็บเพจ (Web Page) เรียกว่าอะไร?     (. ถูก)
ก. โฮมเพจ  (Homepage)
ข.
เว็บเพจ   (Web Page)
ค.
เว็บไซต์  (Web site)
ง.
เว็บ  (Web)
10. ข้อใดให้ความหมายของอีเมล์ได้ถูกต้อง?     (. ถูก)
ก. การส่งจดหมายผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ข. การส่งจดหมายผ่านสายโทรศัพท์
ค.
การส่งจดหมายด้วยสื่อที่มีความเร็วสูง
ง.
การส่งจดหมายโดยไม่ต้องใช้โทรศัพท์

แบบฝึกหัด 1

1.ดับเบิลคลิก (Double Click)  เป็นลักษณะการใช้เมาส์แบบใด ?      (.  ถูก)
ก. การกดเมาส์ปุ่มซ้ายหนึ่งครั้งแล้วปล่อย
ข. การกดเมาส์ปุ่มซ้ายค้างไว้ จากนั้นเลื่อนเมาส์  
ค. การกดเมาส์ปุ่มซ้ายติดกัน 2 ครั้งอย่างรวดเร็ว
ง.
การคลิกเมาส์ปุ่มขวาหนึ่งครั้ง
2. เครื่องพิมพ์ชนิดใดที่สามารถพิมพ์งานได้ละเอียดและรวดเร็วที่สุด?    (.  ถูก)
ก. เครื่องพิมพ์เลเซอร์  (Laser)         
ข.
เครื่องพิมพ์แบบจุด (Dot-Matrix)
ค.
เครื่องพิมพ์แบบฉีดพ่นหมึก  (Ink Jet)      
ง.  
เครื่องพิมพ์พลอตเตอร์ (Ploter)
3. องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ควบคุม สั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ตามที่ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ คืออะไร?     (.  ถูก)
ก. ฮาร์ดแวร์
ข.
พีเพิลแวร์
ค.
ซอฟต์แวร์
ง.
ถูกทุกข้อ



4. โปรแกรมเมอร์ (Programmer) คือใคร?        (. ถูก)
ก. ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป
ข.
ผู้คอยดูแลตรวจสอบสภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถใช้งานได้
ค.
ผู้วิเคราะห์ความต้องการขององค์กรว่าควรใช้คอมพิวเตอร์เพื่องานใดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ง. ผู้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามที่ผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบไว้

5. บุคลากรกลุ่มใดที่ทำหน้าที่บริหาร จัดการ และดูแลทรัพยากรทุกชนิดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ? (. ถุก)
ก. ผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบ  (System Analysis)
ข. ผู้บริหารระบบคอมพิวเตอร์ (Administrator)
ค. ผู้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Programmer)
ง.
ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ (User)

6. ซอฟต์แวร์ประเภทใด ที่ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด
?    (. ถูก)
ก. ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการหรือ โอเอส
ข. ซอฟต์แวร์ประยุกต์

ค.
 ซอฟต์แวร์ประมวลคำ
ง.
ถูกทุกข้อ
7. ข้อใดคือซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับพิมพ์เอกสาร หรือประมวลคำ ?       (.    ถูก)
ก. Microsoft Excel
ข. Lotus
ค.
Microsoft Word
ง.
Microsoft PowerPoint

8.
ข้อใดคือระบบเลขฐานที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์?      (.   ถูก)
ก. ระบบเลขฐาน 2
ข.
ระบบเลขฐาน 8
ค.
ระบบเลขฐาน 10
ง.
ระบบเลขฐาน 16


9. การคลิกเมาส์ (Click) จะใช้ในกรณีใด?     (. ถูก)
ก. เพื่อย้ายวัตถุต่างๆ
ข. เพื่อเลือกวัตถุต่าง ๆ
ค.
เพื่อบอกตำแหน่งการพิมพ์
ง.
เพื่อออกจากโปรแกรม
10. ไฟล์หรือแฟ้ม (File) หมายถึงอะไร?        (. ถูก)
ก. กลุ่มของข้อมูลหนึ่ง ๆ ที่จัดเก็บไว้ในโปรแกรมจะต้องมีชื่อไม่ซ้ำกัน
ข.
ที่จัดเก็บไฟล์หรือแฟ้มเพื่อให้เป็นระเบียบและสะดวกในการค้นหา
ค.
ระบบในการตั้งชื่อ
ง.
โปรแกรมระบบปฏิบัติการ

แบบฝึกหัด

1.  ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ?     (. ถูก)
ก. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินงานธุรกิจในปัจจุบัน
ข .เทคโนโลยีสารสนเทศพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูลแล
ะการสื่อสาร
ค.
การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศไม่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์เลย
ง.
เทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น
2. ข้อใดคือขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล?        (. ถูก)
ก. เก็บข้อมูล  ประมวลผลข้อมูล  รายงานผล
ข.
รวบรวมข้อมูล  ประมวลผลข้อมูล  นำเสนอข้อมูล
ค.
แยกประเภทข้อมูล  ประมวลผล  เก็บข้อมูล
.
เตรียมข้อมูล  ประมวลผล  นำเสนอข้อมูล
3. ข้อใดต่อไปนี้คือข้อมูลที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้?        ( . ถูก)
ก. ตัวเลข  ตัวอักษร
ข.
เสียง  ภาพ
ค.
ภาพเคลื่อนไหว
ง.
ถูกทุกข้อ
4. การประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์เหมาะสำหรับงานประเภทใด?      (.  ถูก)
ก. งานที่มีปริมาณมาก
ข.
งานที่ต้องการความถูกต้อง รวดเร็ว
ค. งานที่มีการคำนวณที่ยุ่งยาก ซับซ้อน
ง.
ถูกทุกข้อ




5. คอมพิวเตอร์  (Computer)  คืออะไร?             (.   ถูก)
ก. เครื่องมือที่ใช้ในการคำนวณ
.
เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติที่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยในการอ่าน บันทึกและแสดงผลข้อมูล
.  เครื่องมือที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยในการทำงาน
ง.  เครื่องคิดเลข
6. ข้อใดคือคุณลักษณะที่สำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์?          (.  ถูก)
. ทำงานโดยอัตโนมัติ รวดเร็ว และมีความถูกต้อง
ข. เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และมีหน่วยความจำขนาดใหญ่
ค.
ทำงานได้หลายด้านในเวลาเดียวกัน
ง.
ถูกทุกข้อ
7. ถ้าต้องการป้อนข้อมูลเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องผ่านอุปกรณ์อะไร?      (.  ถูก)
ก. เมาส์
ข.
จอภาพ
ค.
แป้นพิมพ์
ง.
ถูกทั้งข้อ ก. และ ค.
8. อุปกรณ์ใดที่อยู่ในขั้นตอนของ Output หรือแสดงผลลัพธ์?      (. ถูก)
ก. จอภาพ             
ข.
เมาส์
ค.
สแกนเนอร์     
ง.
แป้นพิมพ์
9. อุปกรณ์ใดที่ทำหน้าที่แปลงสัญญานคอมพิวเตอร์ให้ส่งไปตามสายโทรศัพท์?          (. ถูก)
ก. โมเด็ม
ข. สแกนเนอร์
ค.
เครื่องพิมพ์
ง. จอภาพ



10. ส่วนประกอบใดของคอมพิวเตอร์ที่ถือเป็นหัวใจของเครื่อง?   (. ถูก)
ก. จอภาพ
ข.
เมาส์
ค.
ซีพียู
ง.คีย์บอร์ด

อินเทอพรีทเตอร์ (Interpreter) คอมไพเลอร์

1. แปลโปรแกรมทีละคำสั่งและทำงานตามคำสั่งนั้นทันที
2. ใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำน้อย
3. ไม่มีการสร้างออฟเจ็ทโปรแกรม (Objext Program)
4. ถ้าโปรแกรมมีการทำงานแบบวนซ้ำ (Loop) จะต้องแปลคำสั่งซ้ำแล้วซ้ำอีกทำให้การทำงานช้า 1. แปลทั้งโปรแกรมแล้วจึงทำงานตามคำสั่งในโปรแกรมนั้น
2. ใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำมา
3. มีการสร้างออฟเจ็ทโปรแกรม (Objext Program)
4. ถ้าโปรแกรมมีการทำงานแบบวนซ้ำ (Loop) เครื่องจะนำออฟเจ็ทโปรแกรมไปใช้งานเลยโดยไม่ต้องแปลซ้ำ ทำให้ทำงานได้เร็วกว่า





ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาภาษาระดับสูงมาใช้มากมาย ภาษาระดับสูงแต่ละภาษาจะมีกฎเกณฑ์ในการใช้ต่าง ๆ กัน แต่ทุกภาษาจะมีโครงสร้างที่เหมือนกัน คือประกอบด้วยประโยคต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
1. ประโยคที่ใช้ในการระบุตัวแปร ใช้ในการระบุชื่อ และชนิดของตัวแปร (Variable) ซึ่งตัวแปรจะใช้เป็นชื่อในการอ้างอิงถึงข้อมูลที่ถูกจัดเก็บในหน่วยความจำ
2. ประโยคที่ใช้ในการอ่านหรือแสดงผลลัพธ์ ใช้ในการอ่านข้อมูลเข้ามาเก็บในตัวแปรที่ระบุและใช้แสดงผลลัพธ์
3. ประโยคควบคุม ใช้ในการควบคุมการทำงานว่าจะให้ทำงานในส่วนใดของโปรแกรมซึ่งถ้าไม่มีประโยคควบคุม การทำงานจะทำเรียงตามลำดับคำสั่ง จากประโยคแรกไปยังประโยคสุดท้าย
4. ประโยคที่ใช้ในการคำนวร ใช้ในการคำนวณค่าทางคณิตศาสตร์
5. ประโยคที่ใช้บอกจบการทำงาน ใช้ระบุจุดจบของการทำงาน

ภาษาระดับสูงมีอยู่หลายภาษา สามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน เช่น
1. ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN : FORmular TRANslation) ภาษาฟอร์แทรนเป็นภาษา
ที่เหมาะในงานด้ายวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และ คณิตศาสตร์ซึ่งเป็นงานที่มักใช้การประมวลผลที่ซับซ้อน ลักษณะของภาษาอยู่ในลักษณะที่คล้ายกับสูตรหรือสมการทางคณิตศาสตร์ ภาษาฟอร์แทรนไม่เหมาะกับงานพิมพ์หรือ งานที่ต้องการเก็บข้อมูลเป็นไฟล์เพราะคำสั่งด้านนี้มีน้อย
2. ภาษาโคบอล (COBOL : Common Business Oriented Language) เป็นภาษาที่มี
คำสั่งคล้ายคลึงกับภาษาอังกฤษ ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในงานทางธุรกิจและเป็นภาษาที่ประสบความสำเร็จในการใช้งานธุรกิจ เช่น งานทางด้านบัญชี งานเก็บประวัติข้อมูล งานธุรกิจทั่ว ๆ ไป นอกจากนี้ภาษาโคบอลยังเหมาะกับงานทางด้านการสร้างไฟล์ของข้อมูล งานใหญ่ ๆ ที่มีข้อมูลมาเพราะมีคำสั่งต่าง ๆ ที่ใช้กับไฟล์มากและยังสามารถใช้กับงานที่ต้องการออกรายงาน (Report) แต่มีข้อเสียคือ การทำงานค่อนข้างช้า และไม่เหมาะกับงานคำนวณที่สลัยซับซ้อน
3. ภาษาปาสคาล (PASCAL) มาจากชื่อนักคณิตศาสตร์ขาวฝรั่งเศสชื่อ Blaise Pascal
ภาษาปาสคาลเป็นภาษาที่มีโครงสร้างที่ดีเยี่ยม ทำให้การทำงานของโปรแกรมมีประสิทธิภาพดีมากเทอร์โบปาสคาล (Turbo Pascal) เป็นรุ่นที่นิยม เพราะเทอร์โบปาสคาลเป็นภาษาค่อนข้างจุกจิก มีข้อยกเว้นและมีเครื่องหมายมาก ทำให้ลดความคล่องตัวในการใช้งานลงไป
4. ภาษาซี (C) เป็นภาษาที่เขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง มีรูปแบบคำสั่งค่อนข้างอิสระมี
คำสั่งและฟังก์ชั่นมาก สามารถใช้กับงานได้หลายประเภท สามารถควบคุมฮาร์ดแวร์ได้ ภาษาซีถูกนำมาใช้ในการพัฒนาโปรแกรมหลายอย่าง เช่น UNIX, cu Writer เป็นต้น
5. ภาษาเบสิก (BASIC : Beginner's All-purpose Symbolic Instruction Code) จุด
เด่นของภาษาเบสิก คือ Operating System ของภาษานี้ใช้เนื้อที่น้อยคำสั่งต่าง ๆ มีน้อย แต่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย และถูกออกแบบเพื่อใช้งานในลักษณะโต้ตอบ เพราะภาษเบสิกส่วนใหญ่ ถูกพัฒนาโดยใช้อินเทอพรีทเตอร์ ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถพิใพ์โปรแกรมเข้าเครื่องและแก้ไขข้อผิดพลาดได้ทันที เหมาะกับผู้ที่เริ่มหัดเขียนโปรแกรม ภาษาเบสิกทำได้ทั้งานคำนวณ งานธุรกิจ หรืองานออกรายงาน (Report)
6. ภาษาอัลโกล (ALGOL : ALGOrithmic Language) เป็นภาษาโครงสร้างใช้กับงาน
ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ลักษณะภาษาคล้ายกับภาษา FORTRANลักษณะโปรแกรมจะแยกออกเป็นส่วน ๆ เรียกว่าโปรแกรมย่อย (Subroutine หรือProcedure)
7. ภาษาพีแอลวัน (PL/I : Programming Language I ) เป็นภาษาที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อ
ใช้กับงานธุรกิจและวิทยาศาสตร์ โดยรวมเอาข้อดีของภาษาฟอร์แทรนและโคบอลเข้าด้วยกันคือสามารถทำการคำนวณได้ดี เหมือนกับภาษาฟอร์แทรนและสามารถจัดไฟล์และทำรูปแบบรายงานได้เหมือนกับภาษาโค บอล ภาษาพีแอลวัน ต้องการเนื้อนที่ในหน่วยความจำมากจึงต้องใช้กับเครื่องขนาดใหญ่เหมาะที่จะ ใช้กับงานใหญ่ ๆ ที่ต้องการความเร็วในการประมวลผล

โอโอพี (OOP : Object Oriented Programming)
โอโอพี (OOP) เป็นกลวิธีการเขียนโปรแกรมแบบใหม่ที่แตกต่างจากการเขียนโปรแกรมแบบเดิม ซึ่งการเขียนโปรแกรมแบบเดิมจะเป็นแบบโครงสร้าง (Structured Programming) โดยการเขียนโปรแกรมแบบจากบนลงล่าง ทำให้การนำโปรแกรมมาประกอบกันทำได้ยาก ส่วนการเขียนโปรแกรมแบบจากบนลงล่าง ทำให้การนำโปรแกรมมาประกอบกันทำได้ยาก ส่วนการเขียนโปรแกรมแบบออฟเจท (Object) เป็นการมองการเขียนโปรแกรมให้เป็นก้อนออฟเจ็ทและสามารถนำมาต่อ ๆ กันได้ เวลาจะเขียนโปรแกรมใหม่ก็ทำได้ง่าย โดยการนำเอาออฟเจ็ทที่เขียนไว้แล้วมาต่อ ๆ กันเป็นโปรแกรม โดยไม่ต้องเขียนใหม่ทั้งหมด ทำให้เขียนโปรแกรมได้เร็วขึ้น การเขียนโปรแกรมแบบ โอโอพีจะใช้ภาษาอะไรก็ได้ เช่น Visual Basic, Visual C++, Delphi เป็นต้น
นอกจากภาษาระดับสูงที่กล่าวมาแล้ว ยังมีภาษาอีกประเภทหนึ่งที่จัดเป็น ภาษารุ่นที่ 4 (4 GL : Fourth Generation Language) เป็นภาษาที่มีลักษณะเป็นธรรมชาติ เรียกว่าภาษาธรรมชาติ (Natural Language) หรือ ภาษามนุษย์นั่นเองโดยที่ได้มีความพยายามที่ใช้คอมพิวเตอร์ ในการสื่อสารกับมนุษย์ในด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียน เป็นภาษาแบบ Nonprocedural ซึ่งตรงข้ามกับภาษารุ่นก่อน ๆ ที่เป็นแบบ Procedural คือ ในการเขียนโปรแกรมจะต้องระบุขั้นตอนในการทำงานลงในโปรแกรม แต่การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาแบบ Nonprocedural นั้นไม่จำเป็นต้องระบุวิธีการลงในโปรแกรมเพียงแต่บอกว่าต้องการอะไรเท่านั้น ส่วนใหญ่มักใช้ภาษารุ่นที่ 4 นี้ในการดูแลจัดการข้อมูลในระบบฐานข้อมูลและในการสร้างรายงาน





ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language)

            ต่อมาในปีค.ศ. 1952 ได้มีการพัฒนาโปรแกรมภาษาระดับต่ำตัวใหม่ ชื่อภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language) โดยที่ภาษาแอสเซมบลีใช้รหัสเป็นคำแทนคำสั่งภาษาเครื่อง ทำให้นักเขียนโปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น ถึงแม้ว่าการเขียนโปรแกรมจะยังไม่สะดวกเท่ากับการเขียนโปรแกรมภาษาอื่น ๆ ในสมัยนี้ แต่ถ้าเปรียบเทียบในสมัยนั้นก็ถือว่าเป็นการพัฒนาไปสู่ยุคของการเขียนโปรแกรมแบบใหม่ คือใช้สัญลักษณ์แทนเลข 0 และ 1 ของภาษาเครื่อง ซึ่งสัญลักษณ์ที่ใช้จะเป็นคำสั่งสั้น ๆ ที่จะได้ง่าย เรียกว่า นิมอนิกโคด (mnemonic code)
 ภาษาแอสแซมบลี (Assembly Language)
จัดเป็นภาษาสัญลักษณ์ (Symbolic Language) เป็นภาษาที่พัฒนามาจาก
ภาษาเครื่องโดยใช้สัญลักษณ์ข้อความแทนกลุ่มของเลขฐานสอง ทำให้การเขียนโปรแกรมสะดวกขึ้นแต่ผู้เขียนโปรแกรมยังคงต้องจำความหมายสัญลักษณ์ที่ใช้แทนคำสั่งต่าง ๆ การเขียนโปรแกรมภาษาแอสแซมบลี มีลักษณะที่ต้องขึ้นอยู่กับเครื่องเราไม่สามารถนำโปรแกรมภาษาแอสแซมบลีไปใช้กับเครื่องต่างชนิดกันได้ ดังนั้น ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องเข้าใจระบบการทำงานของเครื่องเป็นอย่างดี การเขียนโปรแกรมด้วยภาษานี้ วิธีการก็คล้ายกับการเขียนโปรแกรมภาษาเครื่องแต่อย่างไรก็ตามคอมพิวเตอร์จะรู้จักแต่เฉพาะภาษาเครื่องเท่านั้น ดังนั้นจึงต้องมีการแปลภาษาแอสแซมบลีให้เป็นภาษาเครื่องเสียก่อน เครื่องจึงจะสามารถทำงานตามโปรแกรมคำสั่งได้โปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษานี้เรียกว่าแอสแซมเบลอร์ (Assembler)

ข้อดี ของภาษาแอสแซมบลี
- การเขียนโปรแกรมเขียนง่ายกว่าภาษาเครื่อง

ข้อเสีย ของภาษาแอสแซมบลี
- ขั้นตอนการเขียนโปรแกรมมีลักษณะคล้ายภาษาเครื่องทำให้โปรแกรมคำสั่งต้องเขียนยาวเช่นเดิม
 ภาษาระดับสูง (High Level Language)
เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการพัฒนา ให้สามารถใช้ได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น การเขียน
ภาษาไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์หรือลักษณะการทำงานภายในของเครื่อง ผู้เขียนโปรแกรมไม่จำเป็นต้องเข้าใจระบบการทำงานภายในเครื่องมากนัก เพียงแต่เข้าใจกฎเกณฑ์ในกาเขียนแต่ละภาษาให้ดี ซึ่งลักษณะคำสั่งจะคล้ายกับภาษาอังกฤษ ดังนั้นภาษาระดับสูงจึงเป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน
แต่อย่างไรก็ตามภาษาระดับสูงเครื่องจะยังไม่เข้าใจ จึงต้องมีการแปลให้เป็นภาษาเครื่องเสียก่อน โปรแกรมที่ใช้แปลภาษาระดับสูง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ อินเทอพรีทเตอร์ (Interpreter) และคอมไพเลอร์ (Compiler)

 อินเทอพรีทเตอร์ (Interpreter)
เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง การแปลจะแปลที
และคำสั่งและทำงานตามคำสั่งทันที แล้วจึงไปอ่านคำสั่งต่อไป ในกรณีที่โปรแกรมมีลักษณะการทำงานแบบวนซ้ำ (Loop) อินเทอพรีทเตอร์จะต้องแปลคำสั่งนั้นซ้ำแล้วซ้ำอีก จึงทำให้การแปลแบบอินเทอพรีทเตอร์ทำงานซ้ำ อินเทคพรีทเตอร์จะไม่สร้างออฟเจ๊ทโปรแกรม (Object Program) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่แปลเป็นภาษาเครื่องเก็บไว้ ฉะนั้นทุกครั้งที่สั่งให้โปรแกรมทำงานอินเทอพรีทเตอร์ก็จะเริ่มแปลใหม่ทุกครั้ง เครื่องจะเริ่มทำงานทันทีเมื่ออินเทอพรีทเตอร์แปลคำสั่งเสร็จและจะหยุดทำงานเมื่อดินเทอพรีทเตอร์พบข้อผิดพลาดในคำสั่งที่แปล และจะรายงานความผิดพลาดทันที ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องแก้ไขโปรแกรมคำสั่งให้ถูกแล้วสั่งให้โปรแกรมเริ่มทำงานใหม่ อินเทอพรีทเตอร์ก็จะเริ่มแปลคำสั่งนั้นใหม่ภาษาที่ใช้อินเทคพรีทเตอร์แปล เช่น ภาษาBASICA และGWBASIC เป็นต้น
 คอมไพเลอร์ (Compiler)
เป็นโปรแกรมที่ใช้แปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง คอมไฟเลอร์จะทำการ
แปลทั้งโปรแกรม แล้วเก็บโปรแกรมที่แปลได้ในรูปของภาษาเครื่องเก็บไว้ในลักษณะของออฟเจ็ท โปรแกรม (Object Program) ถ้าโปรแกรมที่แปลไม่มีข้อผิดพลาดก็จะปฏิบัติงานตามคำสั่งนั้น ๆ ทันทีแต่ถ้าโปรแกรมมีข้อผิดพลาด คอมไพเลอร์ก็จะบอกข้อผิดพลาดทั้งหมดที่มีในโปรแกรมออกมาให้ทราบ และจะยอมให้ออฟเจ็ทโปรแกรมทำงานต่อเมื่อโปรแกรมได้รับการแก้ไขจนไม่มีข้อผิด พลาดแล้ว โปรแกรมที่ถูกแปลจะเก็บไว้เป็นออฟเจ็ทโปรแกรมในหน่วยความจำ จึงทำให้ต้องใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำมากกว่าอินเทอพรีทเตอร์ เพราะต้องเก็บตัวโปรแกรมภาษา (Source Program) ออฟเจ็ท โปรแกรม (Object Program) และคอมไฟเลอร์ (Program)
เมื่อแก้ไขข้อผิดพลาดแล้ว คอมไพเลอร์จะทำการแปลทั้งโปรแกรมใหม่เพื่อเก็บเป็นออฟเจ็ทโปรแกรมอีกครั้งหนึ่งในกรณีที่มีการทำงานแบบวนซ้ำ (Loop) เครื่องจะนำเอาออฟเจ็ทโปรแกรมที่แปลเก็บไว้ไปใช้ทำงาน โดยไม่ต้องมีการแปลซ้ำอีก ทำให้การทำงานเร็วกว่าการแปลแบบอินเทอพรีทเตอร์ ภาษาที่ใช้คอมไพเลอร์แปล ได้แก่ ภาษา C, COBOL, FORTRAN,PL/1, TURBO BASIC,PASCAL เป็นต้น

ภาษาเครื่อง (Machine Language)

            ก่อนปีค.ศ. 1952 มีภาษาคอมพิวเตอร์เพียงภาษาเดียวเท่านั้นคือ ภาษาเครื่อง (Machine Language) ซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำที่สุด เพราะใช้เลขฐานสองแทนข้อมูล และคำสั่งต่าง ๆ ทั้งหมดจะเป็นภาษาที่ขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือหน่วยประมวลผลที่ใช้ นั่นคือปต่ละเครื่องก็จะมีรูปแบบของคำสั่งเฉพาะของตนเอง ซึ่งนักคำนวณและนักเขียนโปรแกรมในสมัยก่อนต้องรู้จักวิธีที่จะรวมตัวเลขเพื่อแทนคำสั่งต่า ๆ ทำให้การเขียนโปรแกรมยุ่งยากมาก นักคอมพิวเตอร์จึงได้พัฒนาภาษาแอสเซมบลีขึ้นมาเพื่อให้สามารถเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น

ชนิดของภาษาคอมพิวเตอร์

ภาษาคอมพิวเตอร์เริ่มมาจากในมหาวิทยาลัย หรือในหน่วยงานของรัฐบาลที่ต้องการทำงานบางอย่าง นอกจากนี้ บางภาษาเกิดขึ้นเพราะความต้องการด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และอื่น ๆ อีกมากมาย ทำให้มีภาษาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก
         จากการที่มีภาษาจำนวนมากมายนั้น ทำให้ต้องกำหนดระดับของภาษาคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการแบ่งประเภทของภาษาเหล่านั้น การกำหนดว่าเป็นภาษาระดับต่ำเหนือภาษาระดับสูง จะขึ้นอยู่กับภาษานั้นใกล้เคียงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (ใกล้เคียงกับรหัส 0 และ 1 เรียกว่า ภาษาระดับต่ำ) หรือว่าใกล้เคียงกับภาษาที่มนุษย์ใช้ (ใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษ เรียกว่า ภาษาระดับสูง)

ภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object-Oriented Programming Language)

นักเขียนโปรแกรมบางคนคิดว่าการเขียนโปรแกรมขนาดใหญ่นั้น บางครั้งก็เป็นงานที่หนักและเสียเวลามาก จึงได้พยายามคิดหาวิธีที่จะทำให้การเขียนโปรแกรมนั้นง่ายขึ้น และสามารถเขียนได้อย่าวรวดเร็ว ทำให้เกิดเทคนิค การโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object-Oriented Programming) หรือ OOP เพื่อช่วยลดความยุ่งยากของการเขียนโปรแกรม
Object-Oriented Programming ต่างจากการเขียนโปรแกรมโดยทั่ว ๆ ไป โดยการเขียนโปรแกรมตามปกตินั้น ผู้เขียนโปรแกรมจะพิจารณาถึงขั้นตอนการแก้ปัญหาของโปรแกรมเหล่านั้น แต่เทคนิคของ OOPจะมองเป็น วัตถุ (object) เช่น กล่องโต้ตอบ (dialog box) หรือไอคอนบนจอภาพ เป็นต้น โดยออบเจ็คใดออบเจ็คหนึ่งจะทำงานเฉพาะที่แน่นอน ถ้าผู้ใช้ต้องการทำงานชนิดนั้นก็สามารถคัดลอกไปใช้ในโปรแกรมที่ต้องการได้ทันที





ภาษา C และ C++

ภาษา C ถูกพัฒนาขึ้นโดย ในปีค.ศ. 1972 ที่ห้องปฏิบัติการเบลล์ของบริษัท AT&T เป็นภาษาที่ใช้เขียนระบบปฏิบัติการ UNIX ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมคู่กับภาษาซี และมีการใช้งานอยู่ในเครื่องทุกระดับ
ภาษา เป็นภาษาระดับสูงที่ได้รับความนิยมในหมู่นักเขียนโปรแกรมเป็นอย่างมาก เนื่องจากภาษา จะเป็นภาษาที่รวมเอกข้อดีของภาษาระดับสูงในเรื่องของความยืดหยุ่นและไวยากรณ์ที่ง่ายต่อการเข้าใจ กับข้อดีของภาษาแอสเซมบลีในเรื่องของประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานทำให้โปรแกรมที่พัฒนาด้วยภาษาซีทำงานได้เร็วกว่าโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงอื่น ๆ ในขณะที่การพัฒนาและแก้ไขโปรแกรมสามารถทำได้ง่ายเช่นเดียวกันภาษาระดับสูงทั่ว ๆ ไป นอกจากนี้ภาษา C ยังได้มีการพัฒนาก้าวหน้าขึ้นไปอีก โดยทำการประยุกต์แนวความคิดของการโปรแกรมเชิงวัตถุเข้ามาใช้ในภาษา ทำให้เกิดเป็นภาษาใหม่คือ C++ (++ ในความหมายของภาษาซีคือการเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งนั่นเอง) ซึ่งเป็นภาษาที่ได้รับความนิยมใช้งานพัฒนาโปรแกรมอย่างมาก

ภาษา Pascal

เป็นภาษาระดับสูงที่เอื้ออำนวยให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนโปรแกรมได้อย่างมีโครงสร้าง และเขียนโปรแกรมได้ง่ายกว่าภาษาอื่น นิยมใช้บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เป็นภาษาสำหรับการเรียนการสอน และการเขียนโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ
ภาษาปาสคาลมีตัวแปลภาษาทั้งที่เป็น interpreter และ Compiler โดยจะมีโปรแกรมเทอร์โบปาสคาล (Turbo Pascal) ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงทั้งในวงการศึกษาและธุรกิจ เนื่องจากได้รับการปรับปรุงให้ตัวข้อเสียของภาษาปาสคาลรุ่นแรก ๆ ออก

ภาษา Fortran

เป็นภาษาระดับสูงที่ได้รับการพัฒนาโดยบริษัท IBM ตั้งแต่ปีค.ศ. 1957 ย่อมาจากคำว่า FORmula TRANslator ซึ่งถือว่าเป็นการกำเนิดของภาษาระดับสูงภาษาแรก นิยมใช้สำหรับงานที่มีการคำนวณมาก ๆ เช่น งานทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น

ภาษา COBOL

เป็นภาษาระดับสูงที่ออกแบบมาตั้งแต่ปีค.ศ. 1960 นิยมใช้สำหรับการแก้ปัญหาทางด้านธุรกิจ เช่น การจัดเก็บ เรียกใช้ และประมวลผลทางด้านบัญชี ตลอดจนทำงานด้านการควบคุมสินค้าคงคลัง การรับและจ่ายเงิน เป็นต้น
คำสั่งของภาษา COBOL จะคล้ายกับภาษาอังกฤษทำให้สามารถอ่านและเขียนโปรแกรมได้ไม่ยากนัก ในยุคแรก ๆ ภาษา COBOL จะได้รับความนิยมบนเครื่องระดับเมนเฟรม แต่ปัจจุบันนี้จะมีตัวแปลภาษา COBOL ที่ใช้บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ด้วย รวมทั้งมีภาษา COBOL ที่ได้รับการออกแบบตามแนวทางเชิงวัตถุ (Object Oriented) เรียกว่า Visual COBOLซึ่งช่วยให้โปรแกรมสามารถทำได้ง่ายขึ้น และสามารถนำโปรแกรมที่เขียนไว้มาใช้ในการพัฒนางานอื่น ๆ อีก

ภาษา BASIC

เป็นภาษาที่ใช้ง่าย และติดตั้งอยู่บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนมาก ใช้สำหรับผู้เริ่มต้นศึกษาการเขียนโปรแกรมและผู้ที่เขียนโปรแกรมเป็นงานอดิเรก นิยมใช้ในการเขียนโปรแกรมสั้น ๆ
ภาษา BASIC รุ่นแรกใช้ interpreter เป็นตัวแปลภาษา ทำให้เขียนโปรแกรม ทดสอบ และแก้ไขโปรแกรมได้อย่างง่ายดาย แต่ก็ทำงานได้ช้า ทำให้ผู้ที่เขียนโปรแกรมเชี่ยวชาญแล้วไม่นิยมใช้งาน แต่ปัจจุบันนี้มีภาษา BASIC รุ่นใหม่ออกมาซึ่งใช้ conplier เป็นตัวแปลภาษา ทำให้ทำงานได้คล่อ่งตัวขึ้น เช่น Microsoft's Quick BASIC และ Visual Basic เป็นต้น

การเลือกใช้คอมพิวเตอร์

เนื่องจากในปัจจุบันทุก ๆ ปีจะมีภาษาคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นมากมาย และภาษาต่าง ๆ จะมีจุดดีและจุดด้อยแตกต่างกันไป ผู้ใช้จึงจำเป็นต้องทำการคัดเลือกภาษาที่จะนำมาใช้งานอย่างระมัดระวัง เนื่องจากเมื่อศึกษาและพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยภาษาใดภาษาหนึ่งแล้ว การเปลี่ยนไปใช้ภาษาอื่นในภายหลังจะเป็นเรื่องที่ยากลำบากอย่างยิ่ง ทั้งในเรื่องของค่าใช้จ่ายและเวลาที่ต้องสูญเสียไป รวมทั้งปัญหาของบุคลากรที่ต้องศึกษาหาความชำนาญใหม่อีกด้วย

ภาษาธรรมชาติ (Nature Language)

เป็น ภาษายุคที่ 5 (fifth generation language) หรือ 5GLs ธรรมชาติหมายถึงธรรมชาติของมนุษย์ คือไม่ต้องสนใจถึงคำสั่งหรือลำดับของข้อมูลที่ถูกต้อง ผู้ใช้เพียงแต่พิมพ์สิ่งที่ต้องการลงในเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นคำหรือประโยคตามที่ผู้ใช้เข้าใจ ซึ่งจะทำให้มีรูปแบบของคำสั่งหรือประโยคที่แตกต่างกันออกไปได้มากมาย เพราะผู้ใช้แต่ละคนอาจจะใช้ประโยคต่างกัน ใช้คำศัพท์ต่างกัน หรือแม้กระทั่งบางคนอาจจะใช้ศัพท์แสลงก็ได้ คอมพิวเตอร์จะพยายามแปลคำหรือประโยคเหล่านั้นตามคำสั่ง แต่ถ้าไม่สามารถแปลให้เข้าใจได้ ก็จะมีคำถามกลับมาถามผู้ใช้เพื่อยืนยันความถูกต้อง ภาษาธรรมชาติจะใช้ ระบบฐานความรู้ (knowledge base system) ช่วยในการแปลความหมายของคำสั่งต่าง ๆ

ข้อดีของภาษา

การเขียนโปรแกรมจะเน้นที่ผลของงานว่าต้องการอะไร ไม่สนใจว่าจะทำได้อย่างไร
ช่วยพัฒนาเนื้องาน เพราะเขียนและแก้ไขโปรแกรมได้ง่าย
ไม่ต้องเสียเวลาอบรมผู้เขียนโปรแกรมมากนัก ไม่ว่าผู้ที่จะมาเขียนโปรแกรมนั้นมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมหรือไม่
ผู้เขียนโปรแกรมไม่ต้องทราบถึงฮาร์ดแวร์ของเครื่องและโครงสร้างโปรแกรม
ภาษาในยุคที่ 4 นี้ยังมีภาษาที่ใช้สำหรับเรียกดูข้อมูลจากฐานข้อมูลได้ เรียกว่า ภาษาเรียกค้นข้อมูล (query language) โดยปกติแล้วการเก็บข้อมูลลงในฐานข้อมูล และการแสดงรายงานจากฐานข้อมูล จะต้องมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า แต่บางครั้งอาจมีการเรียกดูข้อมูลพิเศษที่ไม่ได้มีการวางแผนไว้ ถ้าผู้ใช้เรียนรู้ภาษาเรียกค้นข้อมูลก็จะขอดูรายงานต่าง ๆ นอกเหนือจากที่ได้มีการวางแผนไว้ได้โดยใช้เวลาไม่มากนัก ภาษาเรียกค้นข้อมูลที่เป็นมาตรฐานเรียกว่า SQL (Structured Query Language) และนอกจากนี้ยังมีภาษา Query Bu Example หรือ QBE ที่ได้รับความนิยมการใช้งานมากเช่นกัน

ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language)

ต่อมาในปีค.ศ. 1952 ได้มีการพัฒนาโปรแกรมภาษาระดับต่ำตัวใหม่ ชื่อภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language) โดยที่ภาษาแอสเซมบลีใช้รหัสเป็นคำแทนคำสั่งภาษาเครื่อง ทำให้นักเขียนโปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น ถึงแม้ว่าการเขียนโปรแกรมจะยังไม่สะดวกเท่ากับการเขียนโปรแกรมภาษาอื่น ๆ ในสมัยนี้ แต่ถ้าเปรียบเทียบในสมัยนั้นก็ถือว่าเป็นการพัฒนาไปสู่ยุคของการเขียนโปรแกรมแบบใหม่ คือใช้สัญลักษณ์แทนเลข 0 และ 1 ของภาษาเครื่อง ซึ่งสัญลักษณ์ที่ใช้จะเป็นคำสั่งสั้น ๆ ที่จะได้ง่าย เรียกว่า นิมอนิกโคด (mnemonic code)




ภาษาเครื่อง (Machine Language)

ก่อนปีค.ศ. 1952 มีภาษาคอมพิวเตอร์เพียงภาษาเดียวเท่านั้นคือ ภาษาเครื่อง (Machine Language) ซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำที่สุด เพราะใช้เลขฐานสองแทนข้อมูล และคำสั่งต่าง ๆ ทั้งหมดจะเป็นภาษาที่ขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือหน่วยประมวลผลที่ใช้ นั่นคือปต่ละเครื่องก็จะมีรูปแบบของคำสั่งเฉพาะของตนเอง ซึ่งนักคำนวณและนักเขียนโปรแกรมในสมัยก่อนต้องรู้จักวิธีที่จะรวมตัวเลขเพื่อแทนคำสั่งต่า ๆ ทำให้การเขียนโปรแกรมยุ่งยากมาก นักคอมพิวเตอร์จึงได้พัฒนาภาษาแอสเซมบลีขึ้นมาเพื่อให้สามารถเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น

ชนิดของภาษาคอมพิวเตอร์

ภาษาคอมพิวเตอร์เริ่มมาจากในมหาวิทยาลัย หรือในหน่วยงานของรัฐบาลที่ต้องการทำงานบางอย่าง นอกจากนี้ บางภาษาเกิดขึ้นเพราะความต้องการด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และอื่น ๆ อีกมากมาย ทำให้มีภาษาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก
จากการที่มีภาษาจำนวนมากมายนั้น ทำให้ต้องกำหนดระดับของภาษาคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการแบ่งประเภทของภาษาเหล่านั้น การกำหนดว่าเป็นภาษาระดับต่ำหนือภาษาระดับสูง จะขึ้นอยู่กับภาษานั้นใกล้เคียงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (ใกล้เคียงกับรหัส 0 และ 1 เรียกว่า ภาษาระดับต่ำ) หรือว่าใกล้เคียงกับภาษาที่มนุษย์ใช้ (ใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษ เรียกว่า ภาษาระดับสูง)

ภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer Languages)

            ในการเขียนโปรแกรมนั้น ผู้ใช้จะต้องใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เขียนโปรแกรมเรียกว่าซอฟต์แวร์ขึ้นมา ภาษาคอมพิวเตอร์นั้นจะมีตั้งแต่ละดับภาษาของเครื่องขึ้นมาจนถึงภาษาธรรมชาติ
  • ภาษาเครื่อง (Machine Languages) ภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจมากที่สุด ซึ่งจะเป็นลักษณะแบบเลขฐานสอง คือ 0 กับ 1
  • ภาษาสัญลักษณ์ (Symbolic Languages) เมื่อ คอมพิวเตอร์ได้พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆและมีผู้ใช้มากขึ้น จึงมีคนมองเห็นว่าการที่จะเขียนโปรแกรมควบคุมคอมพิวเตอร์ด้วยภาษาเครื่อง นั้น จะทำให้การพัฒนาทางด้านซอฟต์แวร์เป็นไปได้ช้า จึงได้มีการพัฒนาภาษาสัญลักษณ์ขึ้นเพื่อให้การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สะดวก ยิ่งขึ้น แต่การที่นำโปรแกรมนั้นไปใช้ จะต้องทำการเปลี่ยนภาษาสัญลักษณ์เป็นภาษาเครื่องก่อนเสมอ
  • ภาษาระดับสูง (High-Level Languages) เป็น ภาษาที่พัฒนามาจากภาษาสัญลักษณ์อีกทีหนึ่ง แต่จะมีลักษณะที่คล้ายกับภาษามนุษย์มากยิ่งขึ้น การแปลงภาษาระดับให้เป็นภาษาเครื่องนั้นจะมีวิธีการเรียกว่าคอมไฟล์ ภาษาระดับได้แก่ FORTRAN COBOL และ ภาษา C
  • ภาษาธรรมชาติ (Natural Languages) ภาษา ธรรมชาติก็คือภาษาที่มนุษย์พูดกัน เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน เป็นต้น ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นไม่สามารถที่จะเข้าใจได้เลย ในปัจจุบันยังไม่มีคนนิยมใช้กันมากนัก



ลักษณะของคอมพิวเตอร์

            ระบบคอมพิวเตอร์นั้น ถ้ามองในด้านลักษณะคอมพิวเตอร์จะสามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ ดั้งนี้
  • คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer)เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว และไม่ได้ทำการติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ
  • ลักษณะแบบ (Time-sharing)เป็นลักษณะที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องมาต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางโดยคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเรียกว่า Terminal ทุก เครื่องจะส่งคำสั่งที่ต้องการมาประมวลผลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง เพราะการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางจะต้องมีเวลาในการประมวลคำ สั่งต่าง ๆ ที่ส่งมาจาก Terminal ทุกเครื่องในลักษณะแบบ Time-sharing
  • ลักษณะแบบ (Client/Server)เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็น Server คอยดูแลจัดทรัพยากรของระบบทั้งหมด และมีเครื่อง Clients ต่อเข้าเครื่อง Server โดยใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ที่เครื่อง Server มีอยู่ ตามสิทธิของผู้ใช้แต่ละคน และการประมวลผลจะไม่ทำอยู่บนเครื่อง Server แต่จะประมวลที่ Clients แต่ละเครื่องเอง แล้วอาจนำข้อมูลต่าง ๆ ไปเก็บที่เครื่อง Server

ฮาร์ดแวร์ (Hardware)

            ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ต่างๆ 5 ส่วนได้แก่
  • อุปกรณ์รับข้อมูล (Input Device) เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
  •  หน่วยประมวลผลกลาง (CPU : Central Processing Unit) มีหน้าที่ในการประมวลผลคำสั่งหรือข้อมูลต่างๆ
  •  หน่วยความจำหลัก (Primary Storage) เป็น ส่วนที่มีหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลหรือคำสั่งต่างๆ ก่อนที่จะส่งไปยังหน่วยประเมิลผลกลางเพื่อทำการประมวลผลต่อไป เมื่อเปิดเครื่ององคอมพิวเตอร์ข้อมูลในหน่วยความจำก็จะหายไปหมด
  •  อุปกรณ์แสดงข้อมูล (Output Device) เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่ในการแสดงผลต่างๆตัวอย่างที่ใช้กันประจำ ได้แก่ จอภาพ และเครื่องพิมพ์ เป็นต้น
  • หน่วยความจำสำรอง (Auxiliary Storage) มี หน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งการจัดเก็บข้อมูลของหน่วยความจำสำรองนี้จะเป็นการจัดเก็บที่ถาวร ข้อมูลจะไม่หายไปเมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว ตัวอย่าง เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นดิสก์ เป็นต้น
         ซอฟต์แวร์ (Software)
            ในส่วนของซอฟต์แวร์ก็สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
  •  ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ทำหน้าที่ในการจัดการทรัพยากรของเครื่องคอมพิวเตอร์ และทำหน้าที่ติดต่อระหว่างฮาร์ดแวร์กับผู้ใช่ได้ด้วย
  •  ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นมาให้ผู้ใช้ทำงานต่างๆ เช่น พิมพ์งาน วาดภาพ เป็นต้น

ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System) คือ ระบบที่พัฒนามาจาก 2 ส่วนใหญ่ๆคือ

  • ฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ ฮาร์ดแวร์เป็นส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ที่สามารถจับต้องได้   
  • ส่วนซอฟแวร์เป็น โปรแกรมที่ทำงานอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำงานตามที่ผู้ใช้กำหนด

ชนิดของซอฟต์แวร์

      1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) คือโปรแกรมที่ใช้ในการควบคุมระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด เช่น การบูตเครื่อง การสำเนาข้อมูล การจัดการระบบของดิสก์ แบ่งเป็นประเภทย่อยๆ ได้ 4 ประเภท ดังนี้
      1.1 โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System) เป็นโปรแกรมที่ใช้ควบคุม และติดต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะการจัดการระบบของดิสก์ การบริหารหน่วยความจำของระบบ กล่าวโดยสรุปคือ หากจะทำงานใดงานหนึ่งโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการทำงานแล้วจะต้องติดต่อกับซอฟต์แวร์ระบบก่อน ถ้าขาดซอฟต์แวร์ชนิดนี้จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้แก่ โปรแกรมระบบปฏิบัติการดอส วินโดวส์ ยูนิกส์ ลีนุกส์ เป็นต้น
          1.2 คอมไพเลอร์ (Compiler) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูง ซึ่งเป็นภาษาที่ใกล้เคียงภาษามนุษย์ให้เป็นภาษาเครื่อง ก่อนที่จะนำไปประมวลผล ตัวแปลภาษานี้จะขึ้นอยู่กับภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม เช่น ภาษาเบสิก (Basic) ภาษาปาสคาล (Pascal) ภาษาซี (C) ภาษาจาวา (Java) ภาษา HTML ภาษาโคบอล (Cobol) ภาษาฟอร์แทรน (Fortran) เป็นต้น เพราะการเขียนโปรแกรมโดยใช้ภาษาเครื่องนั้นเป็นเรื่องยุ่งยาก จึงไม่นิยมกระทำกัน ซึ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นด้วยภาษาซี เช่น Microsoft Excel , Cuwriter , Oracal , Sidekick , Game ฯลฯ เป็นต้น การพัฒนาโปรแกรมมักจะพัฒนาโดยการเขียนโปรแกรมลงใน Editor ซึ่งอาจจะเป็นโปรแกรม Edit ของดอส หรือโปรแกรมที่มีอยู่ในคอมไพเลอร์แต่ละตัว หรืออาจจะเขียนขึ้นโดยใช้โปรแกรมเวิร์ดโพรเซสเซอร์มาตรฐานก็ได้
        1.3 ยูติลิตี้ (Utility Program) คือซอฟต์แวร์เสริมช่วยในการทำงาน ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลในดิสก์ การสำเนาข้อมูล การตรวจซ่อมแผ่นดิสก์ การฆ่าไวรัส เป็นต้น โปรแกรมในกลุ่มนี้ได้แก่โปรแกรม Pctools , Norton , Sidekick , Scan virus , Winzip ฯลฯ เป็นต้น
       1.4 ติดตั้งและปรับปรุงระบบ (Diagonostic Program) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการติดตั้งระบบเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อ และใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ที่นำมาติดตั้งระบบ ได้แก่ โปรแกรม Setup และ Driver ต่างๆ
       2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ถูกจัดทำขึ้นเพื่อใช้งานด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องหรือพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานในด้านนั้น ๆ โดยเฉพาะแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
        2.1 โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเอง (Written Program) หมายถึง โปรแกรมที่เขียนหรือพัฒนาขึ้นเอง (Tailor Made) เพื่อใช้งานเฉพาะอย่างตามที่กำหนด โดยโปรแกรมนี้พัฒนาโดยใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง แล้วนำมาคอมไพล์ให้เป็นภาษาเครื่องอยู่ในรูปของโปรแกรม
      2.2 โปรแกรมสำเร็จรูป (Package Program) เป็นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานกันอยแพร่หลาย สามารถประยุกต์ใช้กับงานด้านต่างๆ โดยผู้ใช้สามารถทำการศึกษา และใช้งานได้ง่ายที่ใช้งานกันโดยทั่วไป อาจจัดเป็นกลุ่ม